What’s new in Endodontics ตอนที่ 3

ขอหยิบยก review article เกี่ยวกับ adhesive cementation ของ post ซึ่งตีพิมพ์ใน journal of endodontics เดือนล่าสุดมาเล่าให้ฟังอีก 1 บทความต่อจากเรื่อง regenerative endodontics บทความฉบับนี้ต้องการรวบรวมปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการยึดอยู่ที่ดีระหว่าง post และ intraradicular dentin รวมถึงข้อจำกัดที่ทำให้การยึดอยู่ลดลง โดยรวบรวมบทความที่เกี่ยวข้องกับประเด็นดังกล่าวไว้ 118 บทความ และสรุปจัดแยกออกเป็นหัวข้อดังนี้

 

การยึดอยู่ของ fiber-reinforced post

blog20180318 1

  • Fiber-reinforced post ประกอบด้วย fiber (ทำหน้าที่เพิ่ม tensile, fatigue strength และทำให้เกิด volumetric stability) เรียงตัวฝังอยู่ใน epoxy resin matrix (ทำหน้าที่support และ protect fiber) โดยปกติ epoxy resin matrix จะมี repeating unit ใน polymer และ cross link กันค่อนข้างมาก ส่งผลให้ free functional group เหลือน้อย
  • จึงมีความพยายามปรับปรุง post surface เพื่อทำให้การยึดอยู่ของ post และ resin cement ดีขึ้น เช่น การทา HF, phosphoric acid, H2O2, methylene chloride, potassium permagnate, silane, tribochemical coating, airborne-particle abrasion
  • การทา HF,phosphoric acid, methylene chloride, potassium permagnate, silane บนผิว fiber post โดยตรงไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ (ยกเว้นการทา silane หลังทำ post pretreatment)
  • H2O2 ละลายผิวของ epoxy resin matrix และช่วยเพิ่มการยึดอยู่ (ได้ผลกับ glass fiber post มากกว่า quartz fiber post)
  • Air-particle abrasion ช่วยเพิ่ม retention แต่อาจทำลายโครงสร้างของ fiber post จึงไม่ค่อยแนะนำ
  • เทคนิกทั้งหมดที่กล่าวไปค่อนข้างขึ้นกับชนิดของวัสดุ และยังไม่มีวิธีการใดวิธีการหนึ่งที่เพิ่มการยึดอยู่ของ fiber-reinforced post ได้ทุกกรณี

การยึดอยู่ของ metallic post

  • Resin cement สามารถยึดกับชั้นของ metal oxide ผ่าน hydrophilic bond (ซึ่งไม่แข็งแรงมากนัก) การเพิ่ม bond quality ของ metal ทำได้ 2 แบบคือการปรับสภาพผิวโลหะ (surface modification techniques) และ การทา primers containing functional monomers
  • Surface modification technique เช่น pyrochemical silica coating techniques, tribochemical coating system, titanium dioxide coating system และการทำ spark erosion ทั้งหมดที่กล่าวมามีประสิทธิภาพค่อนข้างดี แต่ซับซ้อน และต้องใช้อุปกรณ์พิเศษเยอะ
  • การทา functional monomer contain groups :
    • Base metal alloy primer : Phosphate or carboxylic acid functional group
    • Noble metal alloy : thionic group เช่น META FAST, METALTITE, V-PRIMER
    • Universal primer : dual functional monomer เช่น ALLOY PRIMER, FUTURABOND M+, GC METAL PRIMER II, MONOBOND PLUS, Z-PRIME PLUS
  • แนะนำให้ทำ air-particle abrasion ด้วย Al2O3 สำหรับ metal post เนื่องจากช่วยเพิ่ม micro-mechanical retention, ลด surface tension และอาจเพิ่ม chemical bond จากการ oxidization กับ base metal alloy

การยึดติดกับ radicular dentin

  • การยึดติดของ apical radicular dentin น้อยกว่า cervical radicular dentin และ coronal dentin (บริเวณ apical มี dentinal tubules น้อยกว่าบริเวณ cervical 5 เท่า --- cervical 42,360 ท่อ/ตารางมิลลิเมตร, apical 8190 ท่อ/ตารางมิลลิเมตร ---) อย่างไรก็ตามมีบางการศึกษาพบว่าประสิทธิภาพการยึดติดตำแหน่งต่างๆ ไม่ต่างกัน
  • กระบวนการรักษาราก/ ใส่ post ซึ่งอาจส่งผลลดการยึดติดของ post/ radicular dentin
    • Material containing peroxide ส่งผลยับยั้ง monomer polymerization ของ resin cement
    • Glycol lubricant ล้างออกยาก เป็นคราบและอาจส่งผลต่อ polymerization
    • Eugenol-based sealer อาจส่งผลต่อ polymerization
    • Heat-plasticized smear layer rich ที่เกิดระหว่างการ drill gutta percha
    • การขาดการยึดติดระหว่าง polyisoprene ของ gutta percha และ methacrylate ของ resin cement อาจเป็นจุดส่งเสริมให้เกิดปัญหาการยึดอยู่ระหว่าง dentin/ resin cement ในอนาคต
    • การ etch ใน root canal ไม่ทั่วถึง หรือการล้างกำจัด etchant ออกไม่หมด
    • การฉายแสงที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้ปฏิกริยาการก่อตัวทั้งหมดไม่สำเร็จ

blog20180318 2

Reference

Maroulakos G, He J, Nagy WW. The Post-endodontic Adhesive Interface: Theoretical Perspectives and Potential Flaws. J Endod. 2018 Mar;44(3) 363-71.