What’s new in Endodontics ตอนที่ 7

ตอนนี้ขอพูดถึง “guided endodontics” หรือ การนำเทคโนโลยี “dynamic guidance” มาประยุกต์ใช้ในการรักษา non-surgical root canal treatment Dynamic guidance เป็นเทคโนโลยีการนำทางด้วยเครื่องมือ ใช้ในการผ่าตัดทางการแพทย์รวมถึงนำทางในการฝังรากเทียม ถูกพูดถึงครั้งแรกในวงการทันตกรรมช่วงปี ค.ศ. 1998 และเริ่มนำมาใช้กับการรักษาคนไข้ช่วงปี ค.ศ. 2005 อย่างไรก็ตามช่วงแรกมีความยุ่งยากในการประมวลผลจาก CT ให้ได้ข้อมูลการนำทางแบบ real time จำต้องอาศัยการประมวลผลจาก supercomputer เท่านั้น ทำให้ไม่สามารถนำมาใช้งานทางคลินิกได้ ภายหลังเริ่มมีการปรับปรุงเทคโนโลยีให้ใช้งานง่ายขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้นแต่ยังคงจำกัดเฉพาะในงานรากเทียม

เทคโนโลยีดังกล่าวเริ่มถูกนำมาใช้ช่วยเปิด access หรือรักษาคลองรากฟันที่มีการตีบตันของคลองรากฟัน (complete calcified canal) รวมถึงใช้เปิด access ตาม concept Minimal Invasive Endodontics (เช่นเปิด access เฉพาะจุดตามแนวคลองรากฟัน ไม่เปิดเชื่อมกันเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยมในฟันกราม) และเริ่มถูกพูดถึงในงานบรรยาย และตีพิมพ์ในบทความตั้งแต่ปี ค.ศ. 2015 เป็นต้นมา (ส่วนการนำไปประยุกต์ใช้ในงาน enddontic surgery นั้นเกิดก่อน) โดยมีทั้งรายงานการเปิด access ในฟันที่มีการตีบตันโดยอาศัยเทคโนโลยี static CT guidance (เช่นการทำ 3D-printed drill guide หรือ milled drill guide ตามข้อมูล CTเป็นตัวบังคับแนวหัวกรอ) และ การเปิด access โดยอาศัยเทคโนโลยี dynamic guidance (มี overhead tracking camera คอยตรวจจับการกรอแบบ real time) ช่วยให้ทันตแพทย์เห็นแนวการกรอลงไปถึงคลองรากฟันที่อยู่ลึกลงไปด้านล่าง หรือกรอลงถึงปลายรากฟันได้โดยไม่ผิดทิศdance” มาประยุกต์ใช้ในการรักษา non-surgical root canal treatment Dynamic guidance เป็นเทคโนโลยีการนำทางด้วยเครื่องมือ ใช้ในการผ่าตัดทางการแพทย์รวมถึงนำทางในการฝังรากเทียม ถูกพูดถึงครั้งแรกในวงการทันตกรรมช่วงปี ค.ศ. 1998 และเริ่มนำมาใช้กับการรักษาคนไข้ช่วงปี ค.ศ. 2005 อย่างไรก็ตามช่วงแรกมีความยุ่งยากในการประมวลผลจาก CT ให้ได้ข้อมูลการนำทางแบบ real time จำต้องอาศัยการประมวลผลจาก supercomputer เท่านั้น ทำให้ไม่สามารถนำมาใช้งานทางคลินิกได้ ภายหลังเริ่มมีการปรับปรุงเทคโนโลยีให้ใช้งานง่ายขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้นแต่ยังคงจำกัดเฉพาะในงานรากเทียม

เทคโนโลยีดังกล่าวยังค่อนข้างใหม่มาก รวมถึงการศึกษายังค่อนข้างจำกัด (โดยเฉพาะ dynamic guidance ซึ่งมองเห็นแบบ real time) ในวารสาร Journal of Endodontics ฉบับเดือนกรกฎาคม 2561 มีบทความเกี่ยวกับการนำ guided endodontics มาใช้ในการรักษาคลองรากฟันหน้าที่มีการตีบตัน แต่ยังคงเป็นลักษณะ static guidance โดยการกรอเปิด access ปกติถึงชั้นเนื้อฟัน พิมพ์ปากและสร้างแบบหล่อ จากนั้นนำข้อมูล CT และแบบหล่อมาประเมินตำแหน่งแนวการวางหัวกรอผ่าน access ที่กรอไว้ในทุกทิศทางและสร้างเป็น 3D template โดย 3D printer เพื่อบังคับแนวหัวกรอไม่ให้ผิดทิศ เทคโนโลยีดังกล่าวอาจมีประโยชน์และเข้าถึงได้ในอนาคตอันใกล้ ท่านผู้อ่านที่สนใจรายละเอียดสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ใน reference ด้านล่างครับ

Reference

Fonseca Tavares WL, Diniz Viana AC, de Carvalho Machado

V, Feitosa Henriques LC, Ribeiro Sobrinho AP. Guided Endodontic Access of