หลักการรักษารากฟันทะลุ

เมื่อพิจารณาผู้ป่วยรายนี้จากการตรวจทางคลินิกและภาพรังสี พบว่ามีรอยทะลุอยู่ต่ำากว่าสันกระดูกเบ้าฟัน และ epithelial attachment เล็กน้อยร่วมกับการที่ไม่มีร่องลึกปริทันต์   ซึ่งแสดงว่าไม่มีทางติดต่อระหว่างรอยทะลุกับภายในช่องปากโอกาสการปนเปื้อนของเชื้อโรคจากภายในช่องปากจะน้อย ส่งผลให้พยากรณ์โรคดีขึ้น ถึงแม้ว่ารอยทะลุจะไม่ได้รับการซ่อมในเวลาอันสั้นและมีขนาดใหญ่ เพราะมีความเชื่อมั่นว่าจะสามารถกำ า จัดเชื้อจุลชีพบริเวณรอยทะลุได้จากน้ำยาล้างคลองรากที่กระตุ้นด้วยไฟล์อัลตราโซนิกและการใส่แคลเซียมไฮดรอกไซด์ แต่อย่างไรก็ตามการซ่อมรอยทะลุให้เร็วที่สุดไม่สามารถทำได้ในกรณีนี้  เนื่องจากรอยทะลุดังกล่าวเกิดจาก inflammatory root  resorptionจึงจำาเป็นต้องใส่ยาในคลองรากฟันเป็นเวลานานจนกว่าการละลายจะหยุดเสียก่อน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในการรักษาผู้ป่วยรายนี้จำเป็นต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในเรื่องรากฟันละลายควบคู่ไปกับหลักการรักษารอยทะลุ

วัสดุที่เลือกใช้ซ่อมรอยทะลุคือ  MTA  เนื่องจากคุณสมบัติความแนบสนิทที่ดี ความเข้ากันได้ทางชีวภาพ สามารถแข็งตัวได้ในสภาวะที่มีน้ำหรือเลือด ความสามารถในการเหนี่ยวนำให้เกิดการซ่อมสร้างอวัยวะปริทันต์ และพบว่าเคลือบรากฟันสามารถสร้างขึ้นบนผิวของ  MTA เนื่องจากผู้ป่วยรายนี้มีรอยทะลุหลายตำาแหน่งทั้งในส่วนของปลายรากและคอฟัน  ร่วมกับคลองรากฟันมีขนาดใหญ่จึงสามารถใช้ MTAเป็นทั้งวัสดุอุดคลองรากฟัน และซ่อมรอยทะลุผ่านทางตัวฟัน หลีกเลี่ยงการทำาศัลยกรรมซึ่งมีภาวะแทรกซ้อนมากกว่า

ขั้นตอนการซ่อมรอยทะลุในกรณีนี้ไม่เลือกที่จะใช้ matrix ถึงแม้ว่ารอยทะลุบริเวณคอฟันจะมีขนาดใหญ่ เนื่องจากได้รอจนกระดูกบริเวณใกล้เคียงกับรอยทะลุเกิดการสร้างซ่อมแซมขึ้นมา ส่วนเนื้อเยื่อแกรนูเลชันที่อยู่ในรอยทะลุก็ถูกกำา จัดและป้องกันไม่ให้สามารถเข้ามาได้อีกจากการใส่แคลเซียมไฮดรอกไซด์ที่ผสมค่อนข้างแข็งช่วยดันเอาไว้  แต่อย่างไรก็ตามจะพบว่ามี  MTA  ปริมาณ เล็กน้อยเกินออกจากรอยทะลุ  เมื่อพิจารณาจากความเข้ากันได้ทางชีวภาพของวัสดุแล้วไม่น่าจะส่งผลต่อการหาย ซึ่งเมื่อติดตามผลการรักษา 1 ปี จากภาพรังสีพบว่า MTA ส่วนเกินมีการละลายตัวไป MTA เรียบเสมอกับผิวรากฟันดี ร่วมกับมีการหายอย่างสมบูรณ