หลากหลายการบูรณะฟันภายหลัง การรักษาคลองรากฟัน 1

หลักการบูรณะฟันภายหลังการรักษาคลองรากฟันจะขึ้นอยู่กับปริมาณเนื้อฟันที่เหลืออยู่ และตำแหน่งของฟันในช่องปาก
1. ปริมาณเนื้อฟันที่เหลืออยู่
หลักเกณฑ์ในการพิจารณาฟันที่รักษาคลองรากฟันแล้วว่า มีปริมาณเนื้อฟันเพียงพอที่จะทำการบูรณะได้หรือไม่ และ
ควรบูรณะด้วยอะไร ได้แก่
 
1.1 เฟอรู (ferrule)
Ferrule คือ เนื้อฟันที่เหลืออยู่ เหนือจากขอบ (margin)
ของรอยกรอเพื่อทำครอบฟัน (preparation) โดยอุดมคติควรมี
ความสูงอย่างน้อย 2 มิลลิเมตร โดยรอบฟัน (ดังรูปที่ 1)
1.2 โพรงเนื้อเยื่อในฟัน (Pulp chamber)
Pulp chamber ควรมีความสูงมากกว่า 4 มิลลิเมตร (โดย
เฉพาะในฟันกราม) ในกรณีที่มีความสูงของ Pulp chamber
ไม่ถึง 4 มิลลิเมตร อาจพิจารณาตัด gutta percha เพื่อเพิ่มความ
ลึกให้เพยี งพอต่อการยดึ อยู่ (retention) ของวสั ดบุ รูณะแกนฟัน
(Core)
1.3 คุณภาพและปริมาณของเนื้อฟันบริเวณคอฟัน
(cervical)
เนื้อฟันบริเวณคอฟันที่ดีและมีความหนาของเนื้อฟัน
บริเวณคอฟันอย่างน้อย 2 มิลลิเมตร (ดังรูปที่ 2) หากหนา
ไม่พอให้ใส่เดือยฟัน
1.4 การสบฟันปกติ
การเช็คการสบฟันว่า มีการสบฟันปกติหรือไม่
ให้พิจารณาเช็คทั้ง 2 ตำแหน่ง คือ ตำแหน่ง Centric occlusion
และ Eccentric occlusion โดยสามารถตรวจเช็คเบื้องต้นได้จาก
ภาพถ่ายรังสี เช่น มี PDL space thickening หรือไม่ วัสดุอุดมี
รอยแตกหักที่แสดงว่าอาจมีการรองรับแรงที่มากเกินไป การโยก
ของฟันที่มีความผิดปกติ ทดสอบ fremitus test โดยการเอานิ้ว
แตะไปที่ด้าน buccal ของฟัน เวลาเยื้อง หากมีการสบกระแทก
แสดงว่าอาจมีความผิดปกติของการสบฟัน
1.5 มีการบูรณะฟันโดยครอบคลุมปุ่มฟันทั้งหมด
(cuspal coverage) เพื่อป้องกันการเกิด การแตกของฟันที่
บูรณะไม่ได้ (unrestorable fracture)
ถ้าพิจารณาปัจจัยทุกข้อแล้ว พบว่ามีปริมาณเนื้อฟัน
ไม่เพียงพอ หรือฟันมีการรับแรงมาก ควรต้องบูรณะฟันร่วมกับ
การใส่เดือยฟันด้วย
บรรยายโดย รศ.ทพ. เฉลิมพล ลี้ไวโรจน์ และ อ.ทพญ.ดร. ใจแจ่ม สุวรรณเวลา
คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ถอดบทความโดย ทพญ. ปภาวิน อนุศักดิ์เสถียร การไฟฟ้านครหลวง
ปีที่ 18 ฉบับที่ 2 / 2556 : เอ็นโดสาร
as12