หลากหลายการบูรณะฟันภายหลัง การรักษาคลองรากฟัน 2

2. ตำแหน่งของฟันในช่องปาก

ฟันหน้า

ในฟันหน้าจะมีการรับแรงในแนว lateral force และshear force เป็นหลัก ดังนั้นในกรณีที่มีการสูญเสียเนื้อฟันมากกว่าการเปิดทางเข้าสู่คลองรากฟัน (Open canal: OC)เช่น มีรอยผุในด้าน proximal ร่วมด้วย จึงจำเป็นต้องใส่เดือยฟันร่วมกับครอบฟัน การเลือกเดือยฟันต้องพิจารณาปัจจัย 3 อย่างได้แก่

2.1 ขนาดของเดือยฟัน (post size)

เดือยฟันควรมีขนาดพอดีกับรูปร่างคลองรากฟัน ไม่หลวมเกินไป การยึดติดของ fiber post จะยึดติดได้ดี ถ้าไม่มีช่องว่างระหว่างผนังคลองรากฟันกับเดือยฟัน โดยจะเกิดเป็น Monoblock Tooth-Post–Restoration ซึ่ง fiber post จะทำหน้าที่ทั้ง retain core, reinforce และ stress distribution ไปตลอดความยาวของเดือยฟัน

2.2 ความยาวของเดือยฟัน (post length)

ความยาวของเดือยฟันวัดจากขอบบนของ ferrule ถึงปลายเดือยฟัน อย่างน้อยควรเท่ากับความสูงของตัวฟัน (clinical crown) (ดังรูปที่ 3) 

q1

2.3 รูปร่างเดือยฟัน (post shape)

เดือยฟันควรมีรูปร่าง double taper เพื่อให้แนบกับคลองรากฟันได้ดี และหากมีลักษณะเดือยเป็นเกลียวร่วมด้วยจะช่วยให้ยึดติดกับ cement และ core ได้ดียิ่งขึ้นในกรณีที่ใส่เดือยฟันแล้วเกิดความล้มเหลว (failure) จะเกิดได้ 2 แบบ ดังนี้

1. restorable fracture เป็นการแตกหักที่สามารถบูรณะได้ เช่น การหลุดของเดือยฟัน หรือวัสดุบูรณะ โดยที่เนื้อฟันยังมี ferrule โดยรอบอยู่มกั พบในกรณที มี่ การบรูณะด้วย fiber post หรือ composite resin

2. unrestorable fracture เป็นการแตกที่ไม่สามารถบูรณะได้ เช่น มีรากฟันแตกร่วมด้วย มักพบในกรณีที่มีการบูรณะด้วยเดือยฟันแบบเหวี่ยง (casting post) โดยสรุปฟันหน้า ในกรณีเสียเนื้อฟันเพียงแค่ Endodontic access ควรบูรณะด้วย composite resin ร่วมกับการฟอกสีฟัน แต่หากสูญเสียเนื้อฟันมาก ให้บูรณะด้วย post and core with crown 

บรรยายโดย รศ.ทพ. เฉลิมพล ลี้ไวโรจน์ และ อ.ทพญ.ดร. ใจแจ่ม สุวรรณเวลา
คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ถอดบทความโดย ทพญ. ปภาวิน อนุศักดิ์เสถียร การไฟฟ้านครหลวง

ปีที่ 18 ฉบับที่ 2 / 2556 : เอ็นโดสาร